ตามที่พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2562 ทำให้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) ยุบเลิก โดยเปลี่ยนเป็นสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือกฎหมายอื่น และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ให้อยู่ภายใต้กรอบนโยบายการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด

โดยสามารถดูรายละเอียดตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 ตามลิงค์นี้ -> https://www.offo.or.th/sites/default/files/files/regulations/add/phrb_k…

อำนาจหน้าที่ ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.)  ดังนี้

     สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ เรียกว่าชื่อย่อว่า สกนช. ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 โดยมาตรา 5 ได้ระบุไว้ว่า ให้จัดตั้ง "กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง" ใน "สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง" ซึ่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และ สกนช. จะต้องดำเนินการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ระบุไว้ในตามมาตรา 19 ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ ของ สกนช. ดังนี้

          1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

          2. จัดทำแแผนรองรับวิกฤตการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ

          3. กู้ยืมเงินตามมาตรา 26
               "มาตรา 26 กองทุนต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ตามวรรคสองแล้วต้องไม่เกินจำนวนสี่หมื่นล้านบาท เมื่อกองทุนมีจำนวนเงินไม่เพียงพอเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา 5 ให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้ยืมเงินเป็นจำนวนไม่เกินสองหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินตามวรรคหนึ่งและกรอบวงเงินกู้ตามวรรคสองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้กระทำได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกา"

          4. เสนอแผนการเงินและงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ

          5. จัดทำรายงานประจำปีและความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านต่างๆของสำนักงาน รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี เสนอต่อคณะกรรมการ

          6. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพย์สินใดๆ

          7. ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน

          8. ดำเนินคดีทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนหรือการบริหารกองทุนและกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน

          9. ปฏิบัติการตามที่คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ คณะกรรมการมอบหมาย

          10. ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน

โครงสร้างสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) (ภายใต้ความเห็นชอบของกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567)

     โครงสร้างการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองภารกิจในแต่ละด้าน และเสนอให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุนให้ความเห็นชอบ 8 คณะ และสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย 3 สำนัก 7 กลุ่มงาน และ 1 กลุ่ม ดังนี้

โครงสร้างการบริหารการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

  • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
  • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
    • คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 
    • คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย
    • คณะอนุกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
    • คณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคล
    • คณะอนุกรรมการบริหารสภาพคล่องเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
    • คณะอนุกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
    • คณะอนุกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    • คณะอนุกรรมการตรวจสอบ
  • สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.)

โครงสร้างภายในหน่วยงานของ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
    • สำนักนโยบายและแผน
      • กลุ่มงานนโยบายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
      • กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนองค์กร
      • กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สำนักการเงินและบัญชี
      • กลุ่มงานการเงิน
      • กลุ่มงานบัญชี
    • สำนักอำนวยการ
      • กลุ่มงานกฎหมาย
      • กลุ่มงานบริหารกลาง
    • กลุ่มตรวจสอบภายใน

  ==============================================================

หมายเหตุ : รายละเอียดติดต่อ บุคลากรขององค์การ Click Link --> https://www.offo.or.th/th/contact-us

แสดงผังโครงสร้างการแบ่งส่วนงานรับผิดชอบของหน่วยงาน ดังนี้

ภาพประกอบ
โครงสร้าง สกนช.-16มกรา67
ผังรูปตำแหน่ง